ผักปลังสารพันประโยชน์ต่อสุขภาพ

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


    
        ประเทศไทยมีความหลายหลากทางพันธุ์พืชสูงมากประเทศหนึ่งในโลก ด้วยปริมาณพืชที่มีมากนับหมื่นชนิด อีกทั้งคนไทยในอดีตรู้จักใช้ประโยชน์จากพืช ทั้งผักและผลไม้ที่มีอยู่แล้วทั่วไปรอบถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งเรียกกันติดปากว่า พืชผักพื้นบ้าน นั่นเอง นิยมนำมากินเป็นอาหารและยารักษาโรค
เนื่องจากพืชผักและผลไม้พื้นบ้านเหล่านี้มีสีสันและรสชาติต่างๆ กัน ซึ่งสีต่างๆ เหล่านั้นบ่งบอกถึงสารสำคัญที่มีอยู่ต่างชนิดกัน เช่น สีแดง – เหลืองของสารบีตาแคโรทีน (betacarotene) ในฟักทอง มะละกอสุก มะเขือเทศ เป็นต้น และรสชาติต่างๆ ของพืชพื้นบ้านเหล่านี้ล้วนเป็นสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น
ทั้งหมดนี้เป็นความรู้ที่สืบเนื่องกันมาและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง และกลายเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้คนไทยกินผักพื้นบ้าน เพราะมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง
ปัจจุบัน คนไทยตื่นตัวเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพและมีการพูดถึงผักพื้นบ้านมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นเพราะคุณประโยชน์ต่อร่างกายตามที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
ข้อเด่นของผักพื้นบ้านอีกประการคือเรื่องความปลอดภัย เพราะพืชผักพื้นบ้านได้ชื่อว่าปลอดสารพิษเนื่องจากสามารถเกิดและเจริญเติบโตได้ตามธรรมชาติ และมีภูมิต้านทานต่อการเกิดโรคจากแมลงศัตรูพืชต่างๆ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารพิษฆ่าแมลงเหมือนผักเมืองหรือผักแปลง
หลายคนที่นิยมกินผักพื้นบ้านเป็นประจำอยู่แล้วแต่เมื่อเอ่ยชื่อ ผักปลัง” ก็อาจมีคนที่ไม่รู้ว่าคือผักอะไรดังนั้น ผู้เขียนขอนำเสนอ “ผักปลัง” ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ
          
 ผักปลัง…  และถิ่นกำเนิด
            ผักปลังมีชื่อพื้นเมืองว่า ผักปั๋ง เป็นผักพื้นบ้านของไทยที่พบเห็นตามที่ชื้นทั่วไป มี 2 ชนิด แตกต่างกันที่สีของลำต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักปลังที่ลำต้นมีสีเขียวธรรมชาติ (หรือผักปลังขาวคือ Basella alba Linn.สำหรับผักปลังที่ลำต้นสีม่วงแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Basella rubra Linn.ผักปลังทั้ง 2 ชนิดอยู่ในวงศ์ Basellaceae ถิ่นกำเนิดของผักปลังอยู่ในเองเชียและแอฟริกาขึ้นง่ายในดินแทบทุกสภาพแต่จะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่ชุ่มชื้น

ลักษณะทั่วไปของผักปลัง
          ผักปลังเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นกลมเป็นสีเขียวหรือสีม่วงแดง อวบน้ำ ไม่มีขนและสามารถแตกกิ่งก้านสาขาได้มาก
          ใบ ผักปลังมีใบลักษณะมัน รูปร่างกลมหรือเป็นรูปไข่เรียงสลับกัน แผ่นใบอวบน้ำ ขนาดใบกว้าง  2-6 เซนติเมตร และยาว 2.4 – 7.5 เซนติเมตร
             เถา มีลักษณะอวบน้ำและยาวได้หลายเมตรสามารถแตกกิ่งก้านสาขาได้มาก
          นอกจากใบและยอดของเถาที่นำมาปรุงกิน ก็ยังมีดอกผักปลังที่มีสีขาวหรือชมพูม่วง ไม่มีก้านดอกดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ตรงปลายแยกเป็นแฉก
           ผล ผักปลังมีผลสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมดำเมื่อแก่      เนื้อผลนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วงดำหรือสีขาว
การปลูกและขยายพันธุ์
       ผักปลังเป็นพืชที่ปลูกง่ายเช่นเดียวกับผักพื้นบ้านทั่วไป ออกยอดเกือบตลอดปี ชาวบ้านภาคอีสานและภาคเหนือมักนำไปปลูกบริเวณรั้วบ้านเพื่อให้เถาผักปลังเลื้อยขึ้นตามรั้ว
         ผักปลังขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีคือ การเพาะเมล็ดและการชำกิ่งแก่การเพาะเมล็ดทำได้โดยนำเมล็ดแก่ไปตากแห้งแล้วนำไปชำในถุงพลาสติกหรือกระถาง รอจนเกิดต้นอ่อนแล้วนำไปปลูกตามริวรั้วหรือสร้างค้างให้เลื้อยเนื่องจากเป็นพืชอุ้มน้ำจึงนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป
 ประโยชน์ต่อสุขภาพของผักปลัง
          ประโยชน์ทางอาหาร
          คุณค่าทางอาหารของผักปลังนั้นมีมากทีเดียวเพราะมีวิตามินและเกลือแร่อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะ   สารบีตาแคโรทีน มีเมื่อกินเข้าในร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินบำรุงสายตาได้ แล้วยังมีคุณสมบัติเป็นสารช่วยป้องกันมะเร็งด้วย
          โดยทั่วไปเราจะนำยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนซึ่งมีรสจืดเย็น มากินในรูปผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาปรุงอาหารก็ได้ เช่น แกงต่างๆ (แกงส้ม แกงแค แกงปลาผัดกับแหนม หรือใส่แกงอ่อมหอย อีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของผักปลัง 100 กรัม มีดังนี้
พลังงาน                 21           กิโลกรัม

เส้นใยอาหาร        0.8          กรัม

แคลเซียม              4              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส            50           มิลลิกรัม
เหล็ก                      1.5          มิลลิกรัม
วิตามินเอ               9,316     หน่วยสากล(IU)
วิตามินซี                26           มิลลิกรัม
วิตามินบีหนึ่ง       0.07        มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง        0.20        มิลลิกรัม
ไนอาซิน               1.1          มิลลิกรัม


ประโยชน์ทางยา
    ก้าน  แก้พิษฝี พรรดึก ท้องผูก ลดไข้
   ใบ  ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ กลาก น้ำคั้น จากใบใช้บรรเทาอาการผื่นคัน
   ดอก  แก้เกลื้อน
   ราก  แก้มือเท้าด่าง รังแค พิษพรรดี (อาการต่างๆ ที่เกิด จากท้องผูก ถ่ายเป็นก้อนแข็งคล้ายขี้แพะ)
 งานวิจัยที่เกี่ยวกับผักปลัง
        ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ พ.. 2555 นี้เองโดยนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Yaounde ในประเทศแคเมอรูน พบว่าสารสกัดเมทานอลจากผักปลังสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในเพศชายได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ศึกษากับเซลล์สืบพันธุ์ของหนูทดลองเท่านั้น ไม่ได้ทำการศึกษากับเซลล์สืบพันธุ์เพศชายในมนุษย์โดยตรง
        จากผลการวิจัยดังกล่าวได้นำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสรรพคุณในการส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone – boosting supplement) สำหรับลดการเป็นหมันและในงานวิจัยเดียวกันนั้นพบว่าสารสกัดเมทานอลของผักปลังที่ความเข้มข้น 10-100 ไมโครกรัมต่อมิลลิกรัม ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์
        นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลการศึกษาความปลอดภัยโดยให้หนูทดลองกินสารสกัดเอทานอลของผักปลังขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว (1 mg/kg) นานติดต่อกัน 2 เดือน ไม่พบความเป็นพิษต่อตับและไตของหนู
     ปี 2555 นี้เช่นกัน ที่นักวิจัยอินเดียได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบผลของสารสกัดจากใบผักปลังด้วยเอทานอลและน้ำในหนูถีบจักร (mice) โดยกรอกสารสกัดน้ำของใบผักปลังขนาด 100-200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวให้แก่หนูเป็นเวลา 14 วัน ไม่พบความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิทยา และสำหรับหนูขาว (Wistar rats) ที่กินสารสกัดใบผักปลังด้วยเอทานอล น้ำ และเฮกเซน ติดต่อกันนาน 7 วัน พบว่าหนูขาวที่ได้รับสารสกัดด้วยเอทานอลและเฮกเซนจากใบผักปลัง มีปริมาณน้ำย่อยอะไมเลส (amylase) เพิ่มขึ้น ซึ่งน้ำย่อยนี้ทำหน้าที่ย่อยแป้งในปากให้เป็นน้ำตาลมอลโทส (maltose) ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการลดภาวะเสี่ยงเป็นเบาหวานได้
     สำหรับประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ได้ดำเนินโครงการวิจัยระหว่างปี 2552-2555 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารแคลอรีต่ำจากเส้นใยอาหารในผักพื้นบ้าน โดยเลือกผักปลังเป็นวัตถุดิบในการวิจัย พบว่านอกจากจะเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังมีปริมาณเส้นใยอาหารสูงกว่าผักพื้นบ้านชนิดอื่น รวมทั้งสารสกัดจากผักปลังยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่น่าสนใจด้วย ดังนั้น วว.จึงจะต่อยอดผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ในอนาคตอันใกล้นี้
ที่มา : หนังสือนิตยสารหมอชาวบ้าน “ บทความพิเศษ ” ประจำเดือนมกราคม 2556

เลือกเห็ดหลินจือแดงอย่างไรให้ได้ประโยชน์




         เป็นช่วงเวลากว่าสองพันปีมาแล้วที่มีการค้นพบว่าในเห็ดหลินจือแดงมีสารสำคัญกว่าร้อยชนิดที่มีสรรพคุณสำคัญทางการแพทย์โดยการส่งเสริมภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างสารต้านมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าในเห็ดหลืนจือแดงมีสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกว่า 250 ชนิด ซึ่งสารต่างๆ เหล่านี้ทำงานประสานกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ ส่งผลให้ร่างกายเกิดความสมดุลเพิ่มพลังในการป้องกันและบำบัดโรคร่างกายที่เคยได้ดีตามที่ธรรมชาติมอบให้ก็จะกลับมาทำงานได้ดังเดิม
          เห็ดหลืนจือมีมากกว่า 2,000 ชนิดในโลก เราแบ่งเป็นสีต่างๆ สี คือ ดำ เขียว ขาว เหลือง ม่วงและแดง ทั้ง ชนิดนี้คือ สายพันธ์ที่ได้รับการศึกษามากที่สุด และในจำนวน สายพันธ์นี้      เห็ดหลืนจือแดงคือสายพันธ์ที่ได้รับการเพาะปลูกมากเพราะมีประสิทธิภาพทางยามากที่สุด อย่างไรก็ตามวิธีการปลูก สภาพแวดล้อม และการดูแล สามารถทำให้คุณภาพของเห็ดหลินจือแดงจากแหล่งต่างๆ แตกต่างกันได้อย่างมาก
          เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือแดงที่มีคุณภาพมากที่สุด สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ
          ขั้นแรก ควรเลือกเห็ดหลินจือแดงที่มีจากการเพาะปลูกไม่ใช่เห็ดหลินจือที่มีจากธรรมชาติเพราคุณภาพของเห็ดที่มีจากธรรมชาติ จะมีความหลากหลายตามสภาพแวดล้อมที่มันเติบโตขึ้น และโดยทั่วไปเห็ดหลินจือจะขึ้นในบริเวณที่เป็นป่าชื้น ไม่มีการรบกวนจากมลภาวะหรือมนุษย์ การเก็บเห็ดหลินจือแบบนี้อาจทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเสียหายได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือแดงที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงเป็นเห็ดที่มาจากการเพาะเลี้ยงในโรงเรือนร้อน การเพาะปลูกแบบนี้มีต้นกำเนิดมาจากเมืองกุนมะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ซึ่งตระกูลมายูซูมิเป็นผู้คิดค้นกรรมวิธีการเพาะปลูกบนขอนไม้โอ๊คญี่ปุ่น
          เห็ดหลินจือตากแห้งที่เราเห็นโดยทั่วไปมักจะเป็นเห็ดหลินจือดำ ซึ่งมีผลในด้านการบำรุงร่างกายบ้าง แต่เห็ดหลินจือแดงจะมีสารโพลีแซคคาไรด์มากกว่าซึ่งส่งผลให้มีประสิทธิภาพทางยามากกว่า
          ขั้นที่สอง ควรเลือกผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือแดงที่ได้จากการสกัดหลายยี่ห้อเป็นการป่นให้เป็นผงแล้วนำไปบรรจุแคบซูลซึ่งราคาจะถูกกว่ามากเห็ดหลินจือป่นจะไม่มีคุณสมบัติในการรักษาเพราะโครงสร้างของเห็ดหลินจือประกอบด้วยไคตินซึ่งเป็นเหมือนไม้เนื้อแข็งยากต่อการย่อยและดูดซึมของร่างกาย นอกจากจะมีการแปรรูปโดยการสกัดผงเห็ดหลินจือที่ได้จากการป่นจะไม่มีคุณสมบัติทางยาและอาจก่อให้เกิดการแพ้ในบางกรณี เพราะฉะนั้นควรเลือกเฉพาะผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือแดงที่ผ่านการสกัดแล้วเท่านั้น โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปผงสำหรับละลายน้ำหรือแคปซูล
          สุดท้าย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือกรรมวิธีการเพาะปลูกและวิธีการสกัด เห็ดหลินจือแดงเป็นพืชที่โตยาก ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในการเจริญเติบโตซึ่งค่อนข้างยากที่จะควบคุมในธรรมชาติ นอกจากนี้เห็ดหลินจือแดงยังมีความไวต่อมลพิษ โรคพืชและแมลงต่างๆ ดังนั้นการหาเห็ดหลินจือแดงที่เจริญเติบโตสมบูรณ์ในธรรมชาติจึงเป็นเรื่องยาก สปอร์เห็ดหลินจือแดงมีลักษณะที่แข็งการที่มันจะเกิดเป็นต้นหลินจือใหม่ต้องมีจังหวะที่ดีพอ คือ สปอร์จะต้องไปตกในบริเวณซากต้นไม้ที่มีสารอาหารแบบที่มันชอบ อุณหภูมิต้องพอดี ความชื้นแสงสว่างที่เหมาะสมจากสาเหตุดังกล่าวทำให้การหาเห็ดหลินจือแดงที่เติบโตสมบูรณ์เต็มที่ในธรรมชาติเป็นเรื่องที่ยากมากจากต้นไม้ 10,000 ต้น อาจจะมีเห็ดหลินจือแดงแค่ 2-3 ต้นเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาหลายปีศึกษาค้นคว้าว่าเห็ดหลินจือแดงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในสภาวะแบบใด ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่สามารถทำการเพาะปลูกและสกัดสารจากเห็ดหลินจือแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งได้สารออกฤทธิ์มากที่สุด นักวิจัยยังพบว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเก็บเห็ดหลินจือแดง คือ ช่วงที่มันเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาต่างๆ จะมีอยู่มากที่สุด การเพาะปลูกบางวิธีจะทำได้แค่เพียงต้นเห็ดหลินจือแดงที่มีขนาดเล็ก แกร็น ซึ่งตัวยาสำคัญก็ยังไม่มีปริมาณที่มากพอ ดังนั้น เห็ดหลินจือแดงแต่ละยี่ห้อก็จะมีคุณภาพที่แตกต่างกันตามวิธีการเพาะปลูกด้วย
          สนับสนุนข้อมูลโดย บริษัท แมกซ์ เอลลิเม้นท์ จำกัด (02-653-0050สนใจศีกษาข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดหลินจือแดงญี่ปุ่นได้ที่ www.maxelement.co.th

ที่มา: หนังสือนิตยสารชีวจิต “ทันโลกสุขภาพ (Update)” ประจำวันที่ มกราคม พ..2556

ดื่มน้ำซาบซ่าเสี่ยงต่อมลูกหมากพัง

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


            
            คุณผู้ชายที่ชื่นชอบการดื่มน้ำอัดลมมากกว่าน้ำเปล่าน่ากลัวว่าจะต้องไปตรวจเช็กโรคมะเร็งบ้างค่ะ
             เพราะความหวานอาจทำร้ายต่อมลูกหมากอย่างคาดไม่ถึงดังที่วารสาร The American Journal of Clinical Nutrition รายงานเมื่อไม่นานนี้ว่า จากการศึกษาสุขภาพของอาสาสมัครผู้ชายในประเทศสวีเดนที่มีร่างกายแข็งแรงเป็นเวลา 15 ปี สิ่งหนึ่งที่พบร่วมกันในคนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก คือ พฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมเป็นว่าเล่น จึงต้องออกมาเตือนกันว่ามีโอกาสพัฒนาเป็นโรคมะเร็งถึงร้อยละ 40 โดยเฉพาะเป็นมะเร็งชนิดก้าวร้าวเสียด้วย
           โดยให้เหตุผลว่า น้ำตาลปริมาณมากที่เติมลงในเครื่องดื่มกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน (insulin) ซึ่งไปเลี้ยงก้อนเนื้อให้เจริญเติบโต
            ขณะเดียวกันก็พบตัวการก่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดปานกลางอีก ได้แก่ แป้งขัดขาว เช่น ข้าว พาสต้า เค้ก ขนมปังกรอบ และซีเรียลที่มีน้ำตาลสูง
             หันมาดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือน้ำอาร์ซี ดีต่อสุขภาพที่สุดค่ะ

ที่มา:  หนังสือนิตยสารชีวจิต "เรื่องทันโลกสุขภาพ" ประจำวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556

หวานเป็นลมขมเป็นขี้เหล็ก


     
           หากขี้เหล็กมีรสหวานหรือจืด หลายคนอาจชอบใจ ต๊ายตาย กินง่ายจริงๆ แต่หากขี้เหล็กปราศจากรสขม จะเป็นขี้เหล็กไปได้อย่างไร และสรรพคุณช่วยให้นอนหลับจะเหลือได้อย่างไร ขี้เหล็กจึงไม่ควรมีรสจืดหรือหวาน เพราะคงไม่มีใครนำขี้เหล็กไปทำไอติมขี้เหล็กหรือเค้กขี้เหล็กเป็นแน่

         ขี้เหล็กเป็นไม้ที่มีคุณต่อผืนดิน รากของขี้เหล็กที่ชอนไชไปในดินที่คุณูปการตามธรรมชาติ ยังผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ดี เช่นเดียวกับพวกกระถิน
         ใช่แต่นักวิชาการ ชาวบ้านเองก็รู้เรื่องแบบนี้ อย่างสรรพคุณของขี้เหล็กที่ว่ามี "ฤทธิคุณ" ทำให้นอนหลับดีก็เช่นกัน
          ตานชนบทมีต้นขี้เหล็กขึ้นอยู่ทั่วไป ต้นไหนกินดีจะเป็นที่รู้กัน การเก็บขี้เหล็กเขาจะหักเอามาทั้งกิ่งเลยครับ ไม่ต้องกลัวมันเจ็บ และอีกไม่นานก็แตกกิ่งก้านใหม่งอกมาทดแทนมีให้หักเด็ดไม่ขาดตอนตลอดฤดูกาล
          "แกงขี้เหล็ก" ยังเป็นแกงสามัญประจำบ้านในชนบทอยู่ครับเด็กบ้านนอกทุกคนคุ้นเคยดี ลูกชายผมก็ชอบกินครับ
          ผมได้กินแกงขี้เหล็กอยู่บ่อยๆ เพราะมีคนทำให้กิน ผมจะบอกคนทำ (คุณตาของลูกชาย) ว่า ไม่ต้องต้มถึง 3 น้ำ เอาแค่น้ำเดียวก็พอ ขอคงความขมของขี้เหล็กไว้มากๆ หน่อย
          กินแกงขี้เหล็กอย่ากลัวขมเลยครับ เพราะความขมนั้นแหละคือ "ฤทธิคุณ" ของขี้เหล็ก ยิ่งกินมื้อเย็นจะนอนหลับสบายทั้งคืนหรือจะแกงแบบ "ป่าๆ" ก็ดีครับ โดยแกงกับปลาแห้ง
          ตามตลาดสดทั้งเช้าและบ่าย ผมเห็นดอกขี้เหล็กต้มวางขายเป็นจานๆ จานละ 10 บาทเท่านั้นเอง สะดวกสบายเพราะไม่ต้องปีนขึ้นไปเก็บบนต้นไม้มดแดงกัด แต่ก็นั่นแหละครับดอกขี้เหล็กที่แม่ค้าต้มมาขายมักมีรสจืดสนิท
          เพราะคนส่วนมากกลัวขมโดยไม่สำเหนียกคำโบราณที่ว่าหวานเป็นลม ขมเป็นยา

ที่มา : หนังสือนิตยสารชีวจิต  "เรื่อง มนต์รักผักพื้นบ้าน" ประจำวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556